โรงรับจำนำ ประกาศขายสินค้าฟรี ซื้อขายสินค้าหลุดจำนำ ตั๋วจำนำ

ซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน => ประกาศซื้อ-ขาย สินค้าและบริการทั่วไป ฟรี => ข้อความที่เริ่มโดย: promiruntee ที่ มกราคม 30, 2018, 02:42:13 pm

หัวข้อ: รู้จักภาษีมรดกเพื่อการวางแผนมรดก มรดกที่ดิน คืออะไร ต้องทำยังไง ปรึกษาเราได้ที่น
เริ่มหัวข้อโดย: promiruntee ที่ มกราคม 30, 2018, 02:42:13 pm
รู้จักภาษีมรดกเพื่อการวางแผนมรดก มรดกที่ดิน (http://www.siamadvicefirm.com/articles/legacy-plan/)
.
อย่างที่ทราบกันว่าตอนนี้เมื่อได้มรดกแล้วในกรณีที่มรดกมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทส่วนที่เกินนั้น เราจำเป็นต้องนำมาเสียภาษีมรดกภายใน 150 วัน โดยจะเสียในอัตรา 10% สำหรับบุคคลทั่วไป หรือ 5% สำหรับทายาทผู้สืบสันดาน ดังนั้นก่อนจะมาเริ่มวางแผนกัน เรามาทำความรู้จักกับภาษีมรดกกันก่อนและจะได้เตรียมตัวพร้อมกับการวางแผนมรดก
.
(http://www.siamadvicefirm.com/articles/wp-content/uploads/2018/01/Legacy-Plan.003.jpeg) (http://www.siamadvicefirm.com/articles/legacy-plan/)
.
มรดก
ก่อนจะรู้จักกับภาษีมรดก เรามาทำความรู้จักกับมรดกกันก่อนดีกว่าว่ามรดกคืออะไร มรดกตามกฏหมายแล้วก็คือ ทรัพย์สินทุกประเภทของผู้เสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่างๆ จะตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อบุคคลเจ้าของมรดกนั้นเสียชีวิต ทายาทของผู้เสียชีวิตนั้นจำต้องรับสืบทอดหนี้สินต่างๆของผู้เสียชีวิตไปพร้อมๆกับทรัพย์สินต่างๆ แต่จะไม่เกินขอบเขตของมูลค่ามรดกที่ได้รับมา
.
ทายาทมรดก
ใครบ้างที่เป็นทายาทมรดก? ทายาทมรดกนั้นจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ทายาทตามกฏหมายได้แก่ ผู้สืบสันดาน ไม่ว่าจะเป็น บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และรวมทั้ง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับที่กฏหมายได้ระบุไว้
2. ทายาทตามพินัยกรรม ซึ่งได้แก่ ผู้รับพินัยกรรม
.
(http://www.siamadvicefirm.com/articles/wp-content/uploads/2017/11/02insurance-company-logo.jpg)
.
ภาษีมรดก หรือ Inheritance Tax
ภาษีการรับมรดก หรือ ภาษีมรดกนั้นจะเกิดจากการส่งทอดมรดกหลังจากเจ้าของมรดกนั้นถึงแต่ชีวิต ผู้รับมรดกไม่ว่าจะกี่รายที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกนั้น แต่ละรายนั้นได้รับมรดกสุทธิมาไม่ว่าจะคราวเดียวหรือหลายๆครั้งๆ รวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท จึงจัดอยู่ในกลุ่มที่จำเป็นต้องเสียภาษีมรดก โดยแบ่งเป็น สองประเภทคือ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดก
.
ทรัพย์สินที่เมื่อได้เป็นมรดกมานั้นจำเป็นต้องนำไปเสียภาษีมรดก มรดกที่ดินได้แก่
1. อสังหาริมทรัพย์
2. หลักทรัพย์ซึ่งว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. เงินฝากหรือเงินอื่นๆที่มีลักษณะอย่างเดียวกันในประเทศไทย ที่เจ้าของมรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นเอาไว้
4. ยานพาหนะที่มีทะเบียน
5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฏีกา
วิธีคำนวนมูลค่าทรัพย์สินสำหรับการเสียภาษีมรดก
1. อสังหาริมทรัพย์ในไทย ให้เอาตามราคาประเมินหักด้วยภาระที่ถูกรอดสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวง
2. อสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ กรณีมีราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เอาตามราคาประเมิน แต่ถ้ากรณีอยู่ในประเทศที่ไม่มีราคาประเมิน จะใช้ราคาที่รับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการรับรองให้เป็นหน่วยงานที่มีสิทธิประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่
3. หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ นับจากวันที่ได้รับมรดก
4. หลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับการคำนวนมูลค่าทางบัญชีในรอบบัญชีก่อนรอบระยะเวลาที่ได้รับมรดกในหุ้น
5. ยานพาหนะ กรณีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีการจดทะเบียนในประเทศไทย ให้ใช้ราคาประเมินสำหรับปิดอาการสแตมป์ตามประมวลรัษฏากรได้เล, กรณีเรือหรือเครื่องบิน ให้ใช้การประเมินของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพของประเทศนั้นๆ
6. เงินฝากหรือเงินอื่นๆ การคำนวณมูลค่าให้เอามูลค่าของเงินฝาก รวมทั้งดอกเบี้ย ผลประโยชน์อื่นๆที่จะได้รับจากเงินดังกล่าวโดยคิดจากวันที่ได้รับมรดกนั้นๆ
.
(http://www.siamadvicefirm.com/articles/wp-content/uploads/2017/11/03assurance.gif) (http://www.siamadvicefirm.com/articles/legacy-plan/)
.
การยกเว้นภาษีมรดก
1. ใช้มรดกเพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจสาธารณะประโยชน์
2. หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจสาธารณะประโยชน์
3. บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่มีต่อองค์กรสหประชาชาติหรือตามกฏหมายระหว่างประเทศหรือสัญญา
.
เป็นอย่างไรกันบ้าง ตอนนี้น่าจะพอเข้าใจเรื่องภาษีมรดกกันบ้างแล้ว ยังไงอย่าลืมวางแผนภาษีมรดกไว้ด้วยเพื่อที่จะได้ลดหย่อนภาษีมรดก หรือหากต้องการคำปรึกษาอย่างไร สามารถปรึกษากับทาง Siam Advice Firm ได้ซึ่งทาง Siam Advice Firm มีผู้ชำนาญที่สามารถให้คำแนะนำได้
.
สนใจปรึกษาวางแผนมรดกได้ที่นี่
Website: http://www.siamadvicefirm.com/articles/legacy-plan/
 

Tags : ภาษีมรดก,มรดกที่ดิน,วางแผนมรดก