โรงรับจำนำ ประกาศขายสินค้าฟรี ซื้อขายสินค้าหลุดจำนำ ตั๋วจำนำ

เซ้ง - ให้เช่า => ลงประกาศ - ให้เช่า - ฝากขาย => ข้อความที่เริ่มโดย: boevy ที่ สิงหาคม 28, 2018, 05:03:11 pm

หัวข้อ: 8 สิ่งที่ทำให้ “สารตะกั่ว” สะสมในร่างกายได้โดยไม่คาดคิด
เริ่มหัวข้อโดย: boevy ที่ สิงหาคม 28, 2018, 05:03:11 pm
(https://s.isanook.com/he/0/rp/r/w700/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hlLzAvdWQvMC8zOTQ5L3RhcC13YXRlci5qcGc=.jpg)


เราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า สารตะกั่วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ใด หรือสิ่งใด ที่มีสารตะกั่วปนเปื้อน เราควรกำจัดออกไป และดูแลป้องกันเด็ก ๆ ให้ห่างไกลจากสารพิษดังกล่าว

แต่แม้ว่าเราพยายามดูแลเรื่องนี้อย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังมีการค้นพบอาหาร ของใช้ และสถานที่บางแห่ง ที่เรามักจะนึกไม่ถึงอยู่เสมอ


อันตรายของ “สารตะกั่ว” ที่มีผลกระทบต่อร่างกายufabet (http://www.ufabet169.com/)


ในปี 2005 มีการศึกษาพบว่า สารตะกั่วส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย โดยเฉพาะในเด็ก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อระดับความเข้มข้นของเลือดแล้ว ยังพบว่า สารตะกั่ว มีส่วนเกี่ยวพันธ์กับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น อารมณ์ก้าวร้าว สมาธิสั้น

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบด้วยว่า สารตะกั่ว มีผลกระทบต่อความเฉลียวฉลาด เพราะมันทำให้คะแนน IQ ของเด็กลดลง และไม่เพียงแค่เด็กเท่านั้น สตรีมีครรภ์ หากได้รับสารตะกั่ว ก็อาจจะทำให้แท้ง หรือให้กำเนิดทารกที่ผิดปกติได้

สารตะกั่ว ส่งผลร้ายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หากได้รับในปริมาณมาก จะทำลายระบบประสาท ความดันโลหิตสูง อาเจียน ชัก และอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต สารตะกั่ว จึงเป็นสิ่งต้องห้าม สำหรับการนำมาใช้ในครัวเรือน

 หรือแม้กระทั่ง ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน มาตั้งแต่ปี 1971 และในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ก็มีการลดปริมาณการใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

แต่อย่างไรก็ตาม สารพิษดังกล่าวนี้ ยังคงมีอยู่ในสภาพแวดล้อม และที่สำคัญคือ มันปนเปื้อนอยู่ในสิ่งที่เราอาจนึกไม่ถึง ดังต่อไปนี้

1. สี : สมัยก่อนจะมีการใช้สารตะกั่ว ผสมลงไปในสี เป็นเรื่องปกติ เพราะมันช่วยให้สีสวยขึ้น ทาง่ายขึ้น แม้ปัจจุบัน จะมีการใช้สารตะกั่วผสมสีน้อยลงแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจได้ การจะเลือกสีมาใช้ จึงควรต้องมีความละเอียดรอบคอบ

2. น้ำ : น้ำที่เราดื่ม อาจปนเปื้อนสารตะกั่ว แม้ว่าโดยปกติแล้ว เราจะไม่พบสารพิษนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติก็ตาม แต่การนำน้ำมาผ่านกระบวนการแจกจ่ายไปตามอาคารบ้านเรือน อาจมีความเสี่ยง ทั้งจากการเครื่องปั้มน้ำ

และท่อน้ำที่มีการสึกกร่อนหรือชำรุด นอกจากนี้ตู้กดน้ำดื่มตามโรงเรียน ก็ถือเป็นจุดเสี่ยงอีกจุดหนึ่ง อุปกรณ์เหล่านี้ จึงควรได้รับการตรวจสอบอยู่อย่างสม่ำเสมอ

3. อาหาร : แม้แต่ผักที่ปลูกในดิน อาหาร ภาชนะใส่อาหาร ก็อาจมีการปนเปื้อนสารตะกั่วได้ จากฝุ่นสี  การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง ฝุ่นผงจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ลอยมาตามอากาศ ทุกขั้นตอนตั้งแต่การห่ออาหารส่งจำหน่าย

 การเตรียมอาหาร การเก็บอาหาร ต่างก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้นufabet (http://www.ufabet169.com/)

4. ลูกอม : ลูกอมจากหลายประเทศ ถูกสหรัฐอเมริกาเตือนว่ามีการปนเปื้อนสารตะกั่ว แม้จะไม่สามารถตรวจสอบผลที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการออกคำเตือนให้ระมัดระวังการนำเข้าลูกอมจาก เม็กซิโก มาเลเซีย จีน และอินเดีย

 เพราะทั้งกระบวนการผลิต การเก็บ และส่วนผสมนั้น ยังไม่ได้มาตรฐาน

5. ของใช้ในครัวเรือน : สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ในบ้านของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์โบราณ เครื่องเซรามิค งานศิลปะ อาจจะมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ เพราะของเก่า ของโบราณ จะยังใช้สี และการเคลือบเงา ที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว

 นอกจากนี้ ยังมีคำเตือนให้ระวังผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกไวนิล จากประเทศจีน ไต้หวัน เม็กซิโก และอินโดนีเซีย อีกด้วย

6. เครื่องประดับ : พวกสร้อย กำไล แหวน ราคาถูก อาจจะมีสารตะกั่วปนเปื้อน และ ไม่ปลอดภัยอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็ก  เพราะเด็กอาจจะนำเข้าปากหากผู้ใหญ่อย่างเราไม่ระมัดระวังให้ดี เมื่อปี 2006 มีเด็กเสียชีวิตเพราะกลืนชิ้นโลหะเครื่องประดับ

 ที่ติดมากับรองเท้ายี่ห้อหนึ่ง เด็กมาโรงพยาบาลด้วยอาการอาเจียน และปวดท้อง จากนั้นอีก 4 วันก็เสียชีวิต เพราะ เครื่องประดับนั้น มีสารตะกั่วมากถึง 99.1 เปอร์เซ็นต์

7. ของเล่น : ของเล่นเด็กบางอย่างก็มีสารตะกั่วปนเปื้อนเช่นกัน โดยเฉพาะของเล่นที่มีสีสันสวยงาม แม้แต่กล่องใส่อาหาร หรือสีเทียน ก็อาจพบการปนเปื้อนได้ แม้จะปริมาณเล็กน้อย แต่ก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับเด็กบางคนได้เช่นกัน

8. ยาสามัญประจำบ้าน และเครื่องสำอาง : ยารักษาอาการผื่นคัน ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย อาจมีส่วนผสมของสารตะกั่ว ส่วนเครื่องสำอางนั้น ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะเครื่องสำอาง ที่มาจากอินเดีย

 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง โดมินิกัน และเม็กซิโกufabet (http://www.ufabet169.com/)

 

ถึงจะพบสารตะกั่วจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ รอบตัวแทบจะทั้งหมด แต่ก็ใช่ว่าเราจะหลีกเลี่ยงการรับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายไม่ได้นะคะ ทางที่ดีที่สุด คือพยายามใช้ หรือเลือกทานอาหารจากแหล่งผลิตให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ทาน หรือใช้ผลิตภัณฑ์เดิมๆ

หรือจากแหล่งผลิตเดิมๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไป จะช่วยหลีกเลี่ยงการสะสมสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อยค่ะ

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :CNN

ภาพ :iStock