ผู้เขียน หัวข้อ: อยู่ร่วมกับทุกคนในบ้านอย่างมีความสุขแม้วัยจะแตกต่างกัน  (อ่าน 358 ครั้ง)

amazonian

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 20
    • ดูรายละเอียด

อย่าให้วัยที่แตกต่างกันมาเป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เพราะความแตกต่างนี่แหละ คือเสน่ห์ของการใช้ชีวิตอย่างมีสีสัน ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะประสบการณ์ที่แตกต่างกันของคนแต่ละวัย เนื่องจาก คนสูงอายุอย่างปู่ย่า ตายายนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในยุคเก่า ที่ยังไม่มีอินเตอร์เนท และการใช้ชีวิตส่วนมากนั้น ก็จะเน้นไปที่การทำกิจกรรมนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการไปห้องสมุด ไปเที่ยวงานวัด และแน่นอนว่า สมาร์ทโฟนยังไม่มีใช้ ทุกคนเลยต้องใช้เวลาในการส่งจดหมายแทน หากต้องการจะสื่อสารหรือ ส่งข้อความแทนใจ

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต หากเราไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เราอาจจะพลาดอะไรไปได้ คนสูงวัยหลายคนจึงหันมาเรียนรู้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีให้ได้ แม้ว่าช่วงแรกๆจะยากมาก เพราะการเริ่มต้นสิ่งใหม่ในตอนที่เราอายุมากแล้ว มักจะทำให้เราเหนื่อยใจไปสักหน่อย แต่ถ้าทำได้แล้ว ชีวิตก็จะง่ายขึ้น เช่น หากคิดถึงลูกหลาน ก็เพียงแค่ Facetime Videocall ก็สามารถได้พูดคุยเจอหน้ากันแล้ว สิ่งสำคัญที่เราควรมีติดไว้ในบ้านนั้นก็คือ อุปกรณ์ผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นรถเข็น ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ควรมีพร้อมใช้ หากเกิดปัญหาใดๆ นอกจากนี้บทความจากเว็บไซต์ HD Mall ได้แขร์ไว้ว่า การดูแลผู้สูงอายุในเรื่องการรับประทาน หากให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงนอนกิน อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักได้ และที่แย่ก็คืออาจทำให้มีเศษอาหารหลุดเข้าไปในหลอดลมจนส่งผลให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งถ้าหากเป็นเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจทำให้ไปอุดหลอดลมจนกระทั่งขาดอากาศหายใจได้เลยทีเดียว การดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักจึงไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอย่างเด็ดขาด ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารจึงควรจับผู้ป่วยให้นั่งตัวตรง โดยพยายามให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากกินอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้ป่วยได้นั่งอยู่ในท่าเดิมเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อนสัก 1 - 2 ชั่วโมงแล้วจึงค่อยให้นอนลง ผู้ป่วยเจาะคอ ผู้ป่วยที่เจาะคอใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ อาจทำให้มีเสมหะไปอุดตันอยู่ในภายในท่อได้ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจึงควรที่จะล้างท่อให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 1 – 2 วัน และเนื่องจากท่อช่วยหายใจจะมีท่อในกับท่อนอก  จึงควรที่จะมีท่อในสำรองเอาไว้เปลี่ยน เพื่อที่จะนำท่อในออกมาล้างทำความสะอาด โดยวิธีต้มฆ่าเชื้อด้วยน้ำต้มสุก การขับถ่าย การใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกายของผู้ป่วยนั้น อาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลจึงควรที่จะเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ และหากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีสีขุ่นข้น หรือผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก ควรรีบพาผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันทีเพื่อเปลี่ยนสายสวน ไม่ควรปล่อยไว้นานๆ โดยชะล่าใจเด็ดขาด ใส่แพมเพิร์ส หากผู้ดูแลปล่อยให้ผู้ป่วยที่ใส่แพมเพิร์สนอนจมกองอุจจาระปัสสาวะ ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลจึงควรที่หมั่นเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะบอกได้ว่าตนเองมีการขับถ่าย ผู้ดูแลก็ควรที่จะเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยการคอยตรวจเช็คและเปลี่ยนแพมเพิร์สให้กับผู้ป่วยอยู่เสมอนั่นเอง

 

Sitemap 1 2 3