เมื่อเข้าสู่วัยทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนเริ่มมีรายได้เป็นของตัวเอง แน่นอนว่าจะต้องมีภาระหน้าที่ใหม่เกิด ขึ้นนั้นคือ การเสียภาษี โดยบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาจะต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วยการคำนวณจากเงินรายได้พึงประเมินทุกประเภทตลอดปีภาษี หักด้วยค่าใช้จ่ายและค่า
ลดหย่อนภาษี2566ตามเกณฑ์ เช่น ค่าเลี้ยงดูตนเอง ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่และลูก ค่าดอกเบี้ยผ่อนบ้าน ค่าการ ศึกษาของลูก รวมทั้งค่าเบี้ยประกันชีวิต
เพราะเหตุใด ประกันลดหย่อนภาษี ได้ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในประโยชน์ของการทำประกันชีวิตกันก่อน ว่าเป็นการออมเงินประเภทหนึ่งซึ่งให้ทั้งผลตอบแทนและความคุ้มครอง รวมถึงเงินชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด อาทิเช่น เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต เงินเลี้ยงดูตัวเองยามเกษียณ เงินออมสำหรับการศึกษา เป็นต้น ซึ่งการทำประกันชีวิตเป็นการสร้างมั่นคงเพื่ออนาคตอย่างหนึ่งนั่นเอง ดังนั้นรัฐบาลจึงสนับสนุนให้ประชาชนมีการทำประกันชีวิตมากขึ้นด้วยการให้สิทธิลดหย่อนภาษี เนื่องจากตระหนักดีว่าการทำประกันชีวิตสามารถช่วยลดภาระของภาครัฐได้
ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ และประกันแบบไหนที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง ปัจจุบันการทำประกันชีวิตมีหลายรูปแบบ ทว่ากรมสรรพากรให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตที่คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่
1. ประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง ได้แก่
1.1 ประกันชีวิตชั่วระยะเวลา เน้นคุ้มครองชีวิตในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือคุ้มครองกรณีเสี่ยงภัย
1.2 ประกันชีวิตตลอดชีพ เป็นประกันคุ้มครองชีวิตระยะยาวแต่จ่ายเบี้ยในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
1.3 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันที่ให้การคุ้มครองชีวิตและออมเงินไปพร้อมกัน
1.4 ประกันชีวิตควบการลงทุน นอกจากคุ้มครองชีวิตแล้วยังให้ผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเบี้ยประกันในส่วนที่เป็นความคุ้มครองเท่านั้น
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันผู้สูงอายุ เป็นประกันชีวิตที่ให้การคุ้มครองในรูปแบบรายได้หลังเกษียณ โดยผู้ทำประกันต้องจ่ายเบี้ยจนถึงอายุครบตามกำหนด จากนั้นบริษัทประกันจะจ่ายเงินกลับคืนให้เป็นงวด ๆ กรมธรรม์ประเภทนี้นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
นอกจากประกันชีวิตแบบทั่วไปและแบบบำนาญแล้ว ยังมีประกันสุขภาพที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเบี้ยที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท หรือรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้ว ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้การ ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต ช่วยได้ก็จริงอยู่ แต่ก็ควรเลือกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้เหมาะสมด้วย เช่น หากต้องการมีเงินรายได้หลังเกษียณควรเลือกประกันชีวิตแบบบำนาญ หากต้องการมีเงินออมควรเลือกประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือเลือกประกันชีวิตตลอดชีพหากต้องการให้เป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน การเลือกทำประกันที่คุ้มครองความเสี่ยงและยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ถือเป็นความคุ้มค่าอย่างยิ่ง แต่ก่อนตัดสินใจซื้อประกันควรคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเสียก่อน ด้วยสูตรง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ขั้นตอนที่ 2 เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
(กรณีที่มีรายได้หลายทางให้นำรายได้ทั้งหมดที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.5% = ภาษีที่ต้องจ่าย)
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีที่มี
จากนั้นจึงค่อยซื้อประกันชีวิตตามต้องการด้วยวงเงินที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อย่างครอบคลุม ซึ่งหากกำลังมองหากรมธรรม์ประกันชีวิตที่คุ้มค่าในยุคนี้ต้องยกให้ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ สมาร์ท เซฟเวอร์ 15/5 ของธนาคารกรุงไทย ที่ให้ทั้งความคุ้มครองและช่วยลดหย่อนภาษี รับผลประโยชน์รวมสูงสุด 587.5% ของทุนประกัน จ่ายเบี้ยประกันระยะสั้นเพียงแค่ 5 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองนานถึง 15 ปี แถมยังอุ่นใจเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารกรุงไทย สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทยทุกแห่งใกล้บ้าน หรือแอปพลิเคชัน Krungthai Next
unit link ดีไหม
https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1690 ประกันpa ที่ไหนดี 2566
https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1650