ผู้เขียน หัวข้อ: วางแผนการเงิน | วางแผนการเงินอย่างไรให้มีความสุขในวัยเกษียณ  (อ่าน 287 ครั้ง)

ttads2522

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2255
    • ดูรายละเอียด
วางแผนการเงินอย่างไรให้มีความสุขในวัยเกษียณ" width="848" height="565" />คงจะดีไม่น้อยหากเมื่อถึงวัยเกษียณแล้ว เรามีทรัพย์สินเงินทองที่สร้างผลตอบแทนอย่างเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้ชีวิตบั้นปลายราบรื่นไปจนวาระสุดท้าย ปัจจุบัน ไม่มีใครอยากเป็นภาระให้แก่ลูกหลาน สิ่งนี้ถือได้ว่า เป็นความใฝ่ฝันของมนุษย์ทุกคน แต่การที่เราจะมีชีวิตแบบนั้นได้ เราจำเป็นที่จะต้องวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ยิ่งวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสเก็บเงินได้สำเร็จและเร็วขึ้นเท่านั้นด้วย
บางคนเมื่อได้ยินคำว่าเกษียณ มักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ยิ่งหนุ่มสาวที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ แทบจะไม่มีใครนึกถึงเรื่องการเกษียณอายุ อย่างไรก็ตาม เมื่อชีวิตเราเดินทางมาถึงวัยกลางคน ซึ่งเวลาที่เหลือจนถึงวัยเกษียณก็นับว่ามีไม่มากแล้วนั้น เราจึงควรรีบเร่งวางแผนเกษียณอย่างจริงจังอย่างเรื่องเป็นราว ไม่เช่นนั้น ความสุขหลังเกษียณคงเป็นเรื่องยากน่าดู
ช่วงชีวิตก่อนถึงวัยเกษียณ มักเป็นช่วงที่ภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากลูก ๆ เริ่มเรียนจบหมด และทำงานมีรายได้เป็นของตัวเอง ค่าใช้จ่ายเรื่องการเรียนของลูก และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลูกจะลดน้อยลง เราสามารถนำเงินมาเก็บออมสำหรับตัวเองมากขึ้น ดังนั้น เราจึงควรหันมาใส่ใจและเริ่มวางแผนหลังเกษียณอายุเสียแล้วล่ะ
ก่อนหน้านี้ หลายคนอาจมีการแบ่งเงินออม บางคนตั้งเป้าไว้ว่าเงินก้อนนั้นคือเงินสำหรับเกษียณอายุ เพียงแต่เราอาจยังไม่คิดจริงจังถึงรายละเอียดเป็นตัวเลขว่า เราต้องเก็บให้ได้อย่างน้อยเท่าไรเพื่อที่เราจะเกษียณอายุได้อย่างมีความสุข และปราศจากความกังวล หรือบางคนเคยคิดและตั้งเป้าไว้ แต่เมื่อถึงเวลา เงินก้อนนี้อาจถูกนำไปใช้ในเรื่องจำเป็นอื่น ๆ จนเมื่อถึงเวลานี้ เราอาจต้องมาเริ่มคิดกันใหม่
ถ้าเราอยู่ในวัยประมาณ 45 ปี และกำลังวางแผนเรื่องการเกษียณ หากว่าเราไม่มีภาระอะไรมากนัก เช่น โสด หรือลูกเรียนจบหมดแล้ว ไม่มีภาระดูแลพ่อแม่ที่ป่วยอยู่ ก็นับว่ายังไม่สายเกินไป
ขั้นตอนการวางแผนเกษียณให้มีความสุข มีดังนี้

  • คำนวณค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ เรื่องค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณนี้ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตที่เราต้องการมีหรือเป็น หากเราต้องการมีชีวิตที่สุขสบายและได้ท่องเที่ยวทุกปี ค่าใช้จ่ายก็จำเป็นต้องมาก แต่หากแค่อยากเกษียณโดยมีชีวิตแบบพอเพียง ค่าใช้จ่ายก็อาจไม่จำเป็นต้องมากนัก เราอาจประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไว้ที่ 70% ของค่าใช้จ่ายในปัจจุบันก็ได้ เช่น ปัจจุบันเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท ก็ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณไว้ที่เดือนละ 21,000 บาท
  • คาดการณ์จำนวนปีที่เราจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ คนปกติจะเกษียณกันตอนอายุ 60 ปี หรือบางคนก็ก่อนหน้าหรือหลังจากนั้น ให้เราลองคาดการณ์ดูว่าเราน่าจะมีชีวิตหลังจากนั้นอีกกี่ปี เช่น 20 ปี
  • เงินที่เราจะต้องมีก่อนเกษียณ หลังจากประมาณค่าใช้จ่ายต่อเดือน และคาดการณ์จำนวนปีที่จะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เราก็จะคำนวณได้แล้วว่า เราต้องมีเงินเท่าไรก่อนเกษียณ อย่างกรณีที่ยกมา 21,000 x 20 x 12 = 5,040,000 บาท เมื่ออายุ 60 ปี เราต้องมีเงินประมาณ 5 ล้านบาท เพื่อที่จะมีเงินใช้ให้ได้เดือนละสองหมื่นบาทไปจนถึงอายุ 80 ปี
  • คำนวณว่าต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไร เมื่อเรารู้แล้วว่าก่อนเกษียณเราต้องมีเงินห้าล้านบาท เราก็มาดูต่อว่า ตอนนี้เราเหลือเวลาอีกกี่ปีก่อนที่จะเกษียณ ถ้าเราอายุ 45 ปี หมายถึง เราเหลือเวลาอีก 15 ปี หรือ 180 เดือนที่จะเก็บเงินให้ได้ห้าล้านบาท ซึ่งแปลว่า เราต้องเก็บเงินให้ได้เดือนละ 28,000 บาททุกเดือน ไม่ได้คิดเรื่องดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการลงทุน และหากฝากธนาคารหรือลงทุนให้ได้ผลตอบแทน ก็อาจเก็บเงินได้มากกว่า 5 ล้านบาท
  • เลือกลงทุนเพื่อการเกษียณ เมื่อทราบแล้วว่าต้องเก็บเงินทุกเดือนเป็นจำนวนเท่าไร เพื่อให้ได้เงินก้อนก่อนเกษียณ เรามาหาช่องทางการลงทุนเพื่อการเกษียณที่เหมาะสมกันดีกว่า เช่น กองทุน RMF ประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันแบบบำนาญ ซึ่งการลงทุนนี้ นอกจากจะช่วยประหยัดภาษีที่ต้องจ่าย เรายังมีเงินเหลือพอที่จะนำมาเก็บออมเพิ่มเติมได้อีก
  • ประกันสุขภาพ การทำประกันสุขภาพนับเป็นเรื่องสำคัญของทั้งวัยกลางคนและผู้สูงวัย เพราะเป็นวัยที่เริ่มมีปัญหาเรื่องสุขภาพ การทำประกันสุขภาพ จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้ลดน้อยลงได้ เราจึงควรวางแผนเรื่องการทำประกันสุขภาพให้ดี ควบคู่ไปกับการวางแผนเพื่อการเกษียณด้วย

    การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเผชิญ แต่หากเราวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณไว้ล่วงหน้า เราก็จะเป็นผู้สูงวัยที่ไร้กังวลและมีชีวิตที่เปี่ยมสุขได้อย่างแน่นอน
    ขอขอบคุณ
    บทความ วางแผนการเงิน: https://wealthcare.krungthai-axa.co.th/make-money-in-retirement/, https://wealthcare.krungthai-axa.co.th/
    รีวิว วางแผนการเงิน จาก Pantip: www.pantip.com

    Tags : วางแผนการเงิน,วางแผนการเงิน

 

Sitemap 1 2 3