ผู้เขียน หัวข้อ: กฟผ. ปฏิเสธกินรวบกิจการพลังงานไฟฟ้าไทย เป็นเพียงผู้ดูแลความมั่นคง ยืนยัน บริษัทใ  (อ่าน 201 ครั้ง)

Narongrit999

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2167
    • ดูรายละเอียด
กฟผ. ปฏิเสธกินรวบ ผูกขาดกิจการพลังงานไฟฟ้าไทย เป็นเพียงผู้ดูแลความมั่นคง ยืนยัน บริษัทในเครือ ไม่มีสิทธิพิเศษ               

         
          รองผู้ว่าการนโยบายและแผน (รวผ.) ชี้แจง กฟผ. มิได้ผูกขาดทางด้านกิจการ ไฟฟ้า
โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพียงครึ่งหนึ่งของระบบเท่านั้น
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นการรับซื้อจากภาคเอกชน ซึ่งราคาเป็นไปตามการแข่งขัน
และ กกพ. เป็นผู้เจรจาต่อรอง ขณะที่ กฟผ. เป็นเพียงผู้รับซื้อตามโครงสร้าง
ESB เพื่อดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้แก่ประเทศเท่านั้น
โดยมิได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับราคารับซื้อไฟฟ้า
และบริษัทในเครือก็มิได้รับสิทธิพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น

[img width=231,height=311]http://www.egat.co.th/images/news-egat/20140827-01.jpg[/img]

          นายมงคล สกุลแก้ว รองผู้ว่าการนโยบายและแผน (รวผ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีบทความ เผยแพร่ทางสื่อมวลชนซึ่งระบุข้อมูลว่า กฟผ.
และบริษัทในเครือ
เป็นผู้ผูกขาดด้านกิจการไฟฟ้าจนส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นนั้น รวผ.
ขอชี้แจงข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เนื่องจาก
กฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินภารกิจหลักด้านการจัดหา
พลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของคนไทย
รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในประเทศไทยให้มีความมั่นคง รัฐบาล
จึงมีนโยบายให้ กฟผ.
เป็นผู้ดำเนินการด้านการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของทั้งระบบ
รวมถึงเป็นผู้ดำเนินการด้านศูนย์ควบ
คุมระบบกำลังผลิตไฟฟ้าแห่งชาติและระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง
ส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าอีกประมาณ ร้อยละ 50 รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้า
มามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีการเปิดประมูลแข่งขันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
 ภายใต้รูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าแบบ Enhanced Single-Buyer Model (ESB)
คือ ให้ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียว (Single buyer)
ก่อนส่งกระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ซึ่ง โครงสร้างดังกล่าว
มีจุดเด่นในเรื่องของการดูแลรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าประเทศโดยหน่วยงานภาครัฐที่มิได้แสวงหาผลกำไรเป็น
 หลัก
มีความคล่องตัวในการสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของศูนย์ควบคุมระบบกำลังผลิตไฟฟ้าแห่งชาติตามความเหมาะสม
 และสะดวกต่อ การบริหารสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า เป็นต้น
          ส่วนการแยกโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ไปจัดตั้งเป็น บมจ. ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ บมจ. ผลิต ไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)
(มีสถานะเป็นบริษัทในเครือของ กฟผ.) เมื่อครั้งอดีต
เป็นไปเพื่อให้เกิดต้นแบบของบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ (IPP)
ขึ้นในประเทศไทย และเป็นรากฐานของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน
โดยในทุกครั้งที่มีการเปิดประมูลแข่งขันเพื่อ
รับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนภายในประเทศ
ก็มิได้มีสิทธิพิเศษให้แก่บริษัทในเครือของ กฟผ. แต่อย่างใด
ซึ่งการเข้าประมูลแข่งขันของ EGCO และ RATCH
ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขันจนประเทศชาติได้พลังงานไฟฟ้าในราคาที่ถูกที่สุด
 ทั้งนี้ การกำหนดกฎเกณฑ์/เงื่อนไข และการจัดให้มีการประมูลแข่งขัน
อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดย กฟผ.
เป็นเพียงผู้รับซื้อ พลังงานไฟฟ้าจากผู้ที่ชนะการแข่งขันเท่านั้น
มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมูลแข่งขันแต่อย่างใด
          สำหรับประเด็นโรงไฟฟ้าใหม่ทดแทนโรงไฟฟ้าขนอมที่หมดอายุในปี พ.ศ. 2559 นั้น คณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มอบหมายให้
EGCO (ในฐานะเอกชนรายเดิม) ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยไม่ต้อง
มีการประมูลแข่งขัน เนื่องจากความจำเป็นทางด้านยุทธศาสตร์คือ
นอกจากจะต้องมีโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบแล้ว ยังช่วยให้โรง
แยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 4 ของ บมจ. ปตท.
สามารถเดินเครื่องได้อย่างเต็มที่
พร้อมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ เดิม อาทิ
ระบบสายส่งไฟฟ้า และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่ง กกพ.
เป็นผู้ดำเนินการเจรจาทางด้านราคากับ EGCO โดยคำนวณอ้างอิง จาก IPP
ที่จะเข้าระบบในช่วงเดียวกัน จนได้อัตราค่าไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมมากที่สุด
          ขณะที่ การรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ จะแตกต่างจากการรับซื้อภายในประเทศ เพราะมิ
ได้ใช้รูปแบบการเปิดประมูลแข่งขันแต่จะเป็นไปในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศที่มีข้อตกลงความร่วม
 มือการซื้อขายไฟฟ้าไว้ก่อนแล้ว
โดยประเทศที่มีข้อตกลงดังกล่าวจะมาพิจารณาร่วมกันถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงการโรง
 ไฟฟ้าเพื่อนำไปสู่การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันต่อไป
จากนั้นประเทศเจ้าของโครงการจะเป็นผู้คัดเลือกโครงการที่จะนำมาพัฒนาและขาย
ไฟฟ้าให้แก่ไทย
พร้อมทั้งเป็นผู้คัดเลือกผู้ที่จะได้รับสัมปทานให้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า
ซึ่งเอกชนที่ต้องการเป็นผู้พัฒนาโครงการดังกล่าว
ต้องเข้าไปเสนอตัวกับรัฐบาลของประเทศเจ้าของโครงการเอง
แม้แต่บริษัทในเครือของ กฟผ. เอง ก็ต้องดำเนินการเช่นเดียวกับเอกชนราย
อื่นๆ โดยที่มิได้สิทธิพิเศษใดๆ
ส่วนเรื่องอัตราราคาค่าไฟฟ้าที่รับซื้อก็ต้องผ่านการพิจารณาและเจรจาโดยคณะอนุกรรมการประสานความ
 ร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย กฟผ.
เป็นเพียงผู้รับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโครงการเท่านั้น

 

Sitemap 1 2 3