ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  (อ่าน 265 ครั้ง)

kkthai20009

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2548
    • ดูรายละเอียด
น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
« เมื่อ: เมษายน 09, 2018, 09:47:25 am »
น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในปัจจุบันนี้ กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วประเทศและเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้ธุรกิจการผลิตน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิทขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีผู้ประกอบธุรกิจผลิตน้ำดื่มฯ ออกมาจำหน่ายมากมายในท้องตลาด เมื่อเป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวสูง และมีการแข่งขันทางการตลาดกันมาก ก็ย่อมเป็นธรรมดา ซึ่งจะพบปัญหาบ้าง เช่น น้ำดื่มบางยี่ห้อไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน หรือผู้ผลิตบางรายนำเอาขวดหรือถังบรรจุของผู้ผลิตรายอื่นมาใช้บรรจุน้ำของตนออกจำหน่าย แต่ทั้งนี้การกระทำดังกล่าว ผู้ผลิตบางรายอาจไม่รู้ว่ามีกฎหมายควบคุม ซึ่งในบทความเรื่องนี้จะได้กล่าวถึง การควบคุมการผลิตตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ผู้บริโภคก็จะรู้ถึงกระบวนการผลิตน้ำดื่มฯ และเลือกซื้อน้ำดื่มได้อย่างปลอดภัย

 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]น้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท เป็นผลิตภัณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) ซึ่งผู้ผลิตต้องขออนุญาตผลิต ขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารและขออนุญาตใช้ฉลากให้ถูกต้อง[/color]
 [color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large](1.1)[/color]
[color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large]การขออนุญาตผลิตน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]ในการขออนุญาตผลิตน้ำดื่มฯ นั้น ผู้ผลิตจะต้องได้รับการพิจารณากลั่นกรองในขั้นต้นว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีความปลอดภัยและมีคุณภาพหรือมาตรฐานตรงตามที่กฎหมายกำหนดดังจะกล่าวต่อไป โดยแบ่งเขตการขออนุญาตไว้ดังนี้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]กรณีผู้ผลิตที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ จะต้องมายื่นขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ผลิตจะต้องนำผลิตภัณฑ์มาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร แล้วแต่กรณี คือ ถ้าผู้ผลิตมีสถานที่ผลิตเข้าข่ายเป็นโรงงาน กล่าวคือ มีการใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมตั้งแต่ 2 แรงม้า หรือเทียบเท่า 2 แรงม้าขึ้นไป หรือมีคนงาน 7 คนขึ้นไป ต้องมาขออนุญาตผลิตอาหาร และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารให้ถูกต้อง[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]หากผู้ผลิตมีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน ไม่ต้องขออนุญาตผลิต และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จะต้องผลิตน้ำให้มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในประกาศฯ และจะต้องขออนุญาตการใช้ฉลากก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะนำไปติดแสดงที่ภาชนะบรรจุและนำออกจำหน่ายได้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]ส่วนผู้ผลิตที่อยู่ในต่างจังหวัด ก็ให้ดำเนินการเหมือนผู้ผลิตที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แต่ให้ยื่นขออนุญาตได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานที่ผลิตนั้นตั้งอยู๋[/color]
 [color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large](1.2) [/color][color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large]คุณภาพหรือมาตรฐานของน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท[/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] [/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]เมื่อผู้ผลิตได้รับอนุญาตให้ผลิตน้ำดื่มแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามประกาศฯ ซึ่งได้กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของน้ำที่ผลิตไว้ ดังนี้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]คุณภาพทางฟิสิกส์ ได้แก่ สี กลิ่น ความขุ่น และค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่ไม่รวมถึงกลิ่นคลอรีน ความขุ่นต้องไม่เกิน 5.0 ซิลิกาสเกล และความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]คุณสมบัติทางเคมี กำหนดปริมาณสารทั้งหมด (Total Solid) ไม่เกิน 500.0 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร โดยปริมาณของสารต่าง ๆ เช่น ความกระด้างทั้งหมด คำนวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตไม่เกิน 100.0 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร คลอไรด์ แคดเมียม ไนเตรท ฟีนอล ซัลเฟต โครเมียม ฟลูออไรด์ เป็นต้น จะมีได้ในปริมาณตามที่กำหนดไว้ในประกาศฯ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]คุณสมบัติทางจุลินทรีย์ จะต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และต้องไม่พบบักเตรีชนิดอี.โคไล ส่วนบักเตรีชนิด โคลิฟอร์ม ให้มีได้ไม่เกิน 2.2 ต่อน้ำบริโภค 100 มิลลิลิตร โดยวิธี เอ็มพีเอ็น (Most Probable number)[/color]
 [color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large](1.3) [/color][color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large]ขั้นตอนการผลิตน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การผลิตน้ำดื่มฯ ให้มีคุณภาพหรือมาตรฐาน น้ำที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ต้องได้จากแหล่งที่เหมาะสม มีอุปกรณ์การผลิตที่เหมาะสม มีการบำรุงรักษาที่ดี มีกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง รวมถึงมีการสุขาภิบาลที่ดี ทั้งอาคารสถานที่ อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุ และคนงาน[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]กรรมวิธีการผลิตน้ำ โดยทั่วไปจะนำน้ำจากแหล่งน้ำที่เหมาะสม เช่น น้ำประปา แม่น้ำ ลำคลอง น้ำบาดาล เป็นต้น มาปรับคุณภาพของน้ำดังต่อไปนี้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]1. [/color][color=#800080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การเติมอากาศ[/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] (Aeration) เป็นกระบวนการซึ่งทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศเพื่อลดความเข้มข้นของก๊าซ และสารบางชนิดที่ระเหยได้ โดยการทำให้น้ำเป็นแผ่นฟิล์ม หรือทำเป็นน้ำตก ทำเป็นเครื่องกีดขวางให้น้ำไหลผ่าน หรือพ่นน้ำให้สัมผัสกับอากาศ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]2. [/color][color=#800000; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การตกตะกอนด้วยสารเคม[/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]ี (Coagulation) โดยการเติมสารเคมีบางชนิดลงในน้ำ เพื่อให้สารที่มีอนุภาคเล็ก ๆ รวมตัวกันเป็นอนุภาคใหญ่และมีน้ำหนักง่ายต่อการกำจัดโดยการตกตะกอน (Sedimentation) หรือการกรอง (Filtration)[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]3. [/color][color=#800000; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การตกตะกอนโดยวิธีธรรมชาต[/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]ิ เพื่อลดปริมาณสารพวก Setteable materials ในน้ำให้ตกลงสู่ก้นถังโดยแรงดึงดูดของโลก[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]4. [/color][color=#800000; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การกรอง[/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] (Filtration) เป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปรับคุณภาพน้ำ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] สารกรองกรวดทราย มักใช้กรองน้ำประปาหรือน้ำบาดาล เพื่อขจัดสิ่งเจือปนทางฟิสิกส์ เช่น ตะกอน และดินทราย โดยให้น้ำไหลผ่านถังกรองทรายที่มีชั้นของกรวดทรายเรียงตามขนาดที่พบเหมาะภายในถัง[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] สารกรองผงถ่าน มีลักษณะคล้ายถ่านบดละเอียดสีดำ ภายในมีรูพรุนคดเคี้ยวไปมา ผงถ่านนี้ได้รับการผ่านกระบวนการความร้อนสูง และลดความดันมาเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติในการดูดสี กลิ่นคลอรีน ก๊าซ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ไส้กรอง ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ ไส้กรองเซรามิค ทำจากเซรามิคที่มีรูพรุนละเอียด มีประสิทธิภาพในการกรองสิ่งเจือปนที่มีขนาดเล็กมากได้ดี[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ไส้กรองแอนทราไซด์และแมงกานีส โดยแมงกานิส จะใช้กำจัดสนิม ธาตุเหล็ก ตะกั่ว กำมะถัน สังกะสีในน้ำ ส่วนแอนทราไซด์ จะใช้ขจัดสนิมเหล็กตะกอนและความขุ่นได้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] สารกรองเรซิน เป็นสารสังเคราะห์ที่สามารถกรองน้ำดื่มที่มีความกระด้างให้เป็นน้ำอ่อนได้ โดยเรซินสามารถกำจัดแคลเซียมและแมกนีเซียม โดยการแลกเปลี่ยนอนุมูล กำจัดเหล็กและแมงกานิส รวมทั้งสิ่งสกปรกทั้งหลายในน้ำได้[/color]
 [color=#800000; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]5. [/color][color=#800000; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การฆ่าเชื้อ [/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large](Disinfection) ซี่งมีหลายวิธี เช่น ใช้ความร้อน การกรอง การใช้แสงอุลตราไวโอเลต การใช้สารเคมี เป็นต้น[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] การใช้ไส้กรองแบคทีเรีย (Bacteria filter) เป็นไส้กรองเซรามิคที่ผสมด้วยธาตุเงิน มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อจุลินทรีย์[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ (Solar energy application) เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้น โดยใช้หลักการประหยัดพลังงาน โดยนำพลังงานความร้อนที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] การใช้แสงอุลตราไวโอเลต โดยใช้หลอดแก้วใสทำด้วยควอทซ์ หรือ High silica glass ซึ่งสามารถให้ลำแสงที่มีช่วงคลื่นที่ทำลายจุลินทรีย์ได้ภายในเวลาที่พอเหมาะ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] การฆ่าเชื้อโดยใช้สารคลอรีน นอกจากคลอรีนจะฆ่าเชื้อโรคในน้ำแล้ว ยังช่วยเร่งปฏิกิริยาในการตกตะกอนของสารเคมีในน้ำด้วย สารที่นิยมใช้ เช่น สารประกอบประเภทไฮโปคลอไรท์ เป็นต้น[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]เมื่อผ่านกระบวนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็จะเก็บน้ำไว้ที่ถังพักน้ำก่อน แล้วจึงนำมาบรรจุภาชนะเพื่อจำหน่ายต่อไป[/color]
 [color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large](1.4) [/color][color=#0000ff; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large]การแสดงฉลากของน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]การแสดงฉลากน้ำดื่มฯ จะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 68 (พ.ศ.2525) เรื่อง ฉลาก โดยต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย ดังนี้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]1. ชื่ออาหาร เช่น น้ำดื่ม... หรือน้ำบริโภค... หรือชื่ออาหารทางการค้า โดยมีคำว่า "น้ำบริโภค" กำกับอยู่[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]2. เลขที่เบียนตำรับอาหาร หรือเลขอนุญาตใช้ฉลาก แล้วแต่กรณี โดยแสดงตามแบบที่ อย. กำหนดไว้ คือ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] สำหรับน้ำบริโภคที่ผลิตในประเทศ โดยสถานที่ผลิตเข้าข่ายโรงงาน คือ มีคนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรือมีเครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] สำหรับน้ำบริโภคที่ผลิตหรือแบ่งบรรจุจากสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน เป็นการขออนุญาตใช้ฉลาก[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] สำหรับน้ำบริโภคที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่าย และถ้าเป็นการผลิตในต่างจังหวัด ก็จะมีชื่อย่อของจังหวัดนั้น ๆ นำหน้า ผด. หรือ ฉผด. เช่น[/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] เป็นต้น[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย ในกรณีอาหารที่ผลิตในประเทศอาจแสดงชื่อสำนักงานใหญ่ได้ ถ้าเป็นอาหารนำเข้า ก็แสดงชื่อประเทศของผู้ผลิตด้วย [/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]4. ปริมาตรสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก เช่น ปริมาตรสุทธิ 75 ซม.3 หรือ ปริมาตรสุทธิ 1 ลิตร เป็นต้น[/color][/size]


 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]ในการเลือกซื้อน้ำดื่มฯ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องหมาย อย. ก็ตาม อาจมีการปลอมแปลงขึ้นมาได้ จึงควรสังเกตและพิจารณาให้ดี โดยมีข้อสังเกตดังนี้[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]1) ลักษณะของภาชนะบรรจุต้องสะอาด ไม่รั่วซึม หรือมีรอยสกปรก[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ถ้าบรรจุในภาชนะที่เป็นพลาสติก ภาชนะต้องสะอาด ไม่มีความปนเปื้อน ฝาปิดต้องสนิทและมีพลาสติกรัดอีกชั้นหนึ่ง หรือถ้าเป็นขวดแก้ว ก็ต้องสะอาด ฝาปิดสนิทเช่นกัน[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ฝาที่ปิดผนึกหากเป็นชนิดขวด จะต้องไม่มีร่องรอยว่ามีการเปิดใช้ และหากเป็นชนิดถังต้องมีห่วงพลาสติกผนึกรอบฝาจุกกับปากถัง[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]2) ตรวจดูฉลากให้ดีว่ามีรายละเอียดครบถ้วนหรือไม่ ได้แก่ ชื่อน้ำดื่ม เลขทะเบียนตำรับ หรือเลขที่อนุญาตให้ใช้ฉลาก ซึ่งจะแสดงในกรอบเครื่องหมาย อย. เช่น [/color][color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ชื่อผู้ผลิตและสถานที่ตั้ง และปริมาตรสุทธิ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]3) สภาพของน้ำหรือลักษณะของน้ำ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีสิ่งเจือปนอื่น ๆ [/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ไม่มีสี กลิ่น หรือรสที่ผิดปกติ[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ มีที่อยู่แน่นอน[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large] มีการเก็บรักษาที่ดี ไม่วางปะปนกับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]4) การเลือกซื้อน้ำชนิดถัง ควรตรวจสอบให้ดีว่าฉลากที่ถัง กับพลาสติกที่รัดปากถัง เป็นของผู้ผลิตเดียวกันหรือไม่ เพราะผู้ผลิตบางรายจะเก็บถังของผู้ผลิตรายอื่นมาบรรจุน้ำของตน[/color]
 [color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]5) ไม่ควรซื้อตามคำโฆษณา หรือคำกล่าวอ้าง เช่น มีแร่ธาตุครบตามที่ร่างกายต้องการ เป็นต้น[/color]
[color=#000080; font-family: AngsanaUPC; font-size: x-large]คงทราบแล้วว่า ในการผลิตน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิทนั้น ผู้ผลิต ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ คือ น้ำที่จะนำมาผลิตจะต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังได้กล่าวไว้ข้างต้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังต้องขออนุญาตการผลิต และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร แล้วแต่กรณี ซึ่งถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ก็ยื่นขออนุญาตที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่ถ้าอยู่ต่างจังหวัดก็ให้ขออนุญาตที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้น ๆ ส่วนผู้บริโภคก็ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อ ควรสังเกตที่ฉลากว่ามีการแสดงรายละเอียดครบถ้วนหรือไม่ และที่สำคัญในกรอบเครื่องหมาย อย. ต้องแสดงเลขลำดับที่อนุญาตและปี พ.ศ.ที่อนุญาต[/color]

 
 
[color=#008000; font-family: AngsanaUPC; font-size: xx-large]เอกสารอ้างอิง[/color]
[color=#008000; font-family: AngsanaUPC;

 

Sitemap 1 2 3