ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายดำแคปซูล แก้ปวดเมือย บำรุงร่างกาย บำรุงเพศชาย  (อ่าน 224 ครั้ง)

promiruntee

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2207
    • ดูรายละเอียด

#กระชายดำ
กระชายดำ นอกจากจะมีสรรพคุณทางยามากมายแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้ด้วย ทำให้กระชายดำ เป็นที่ต้องการในตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เรามาทำความรู้จักกับเจ้ากระชายดำ สมุนไพรยอดนิยมนี้กัน

ชื่ออื่นๆ :ว่านกระชายดำ กระชายม่วง ว่านเพชรดำ กระชายเลือด

#กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ พบมากในเขตป่าและภูเขาของประเทศไทยและประเทศลาว ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปลูกกระชายดำกระจายทั่วไป แต่จะปลูกมากในพื้นที่จังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
กระชายดำจัดอยู่ในประเภทพืชสมุนไพร ได้มีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมของสูตรยาสมุนไพรนานแล้ว โดยเฉพาะยารักษาโรคต่างๆ และยาชูกำลังหรือยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศ แต่จะเก็บไว้เป็นความลับเฉพาะตัวบุคคล ไม่เผยแพร่ให้รู้จัก ในอดีตจึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก แต่ในปัจจุบันได้รู้จักกระชายดำกันโดยทั่วไปแล้ว และได้รับฉายาว่าเป็น “#โสมไทย

ลักษณะทั่วไป
กระชายดำจัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก อายุหลายปี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของกระชายดำ ดังนี้
ลำต้นเทียม อยู่เหนือดินลักษณะกลมแบน โตเต็มที่สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนของแกนกลางลำต้นจะมีลักษณะแข็ง มีกาบใบที่อวบหนานุ่มหุ้มแกนลำต้นไว้ ลักษณะโดยรวมจะอวบอุ้มน้ำ
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นรูปกรวย ใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ ใบอ่อนมีสีเข้มม่วงอมแดง และสีจะค่อยๆจางไปเป็นสีเขียวเมื่อโตขึ้นและใบใหญ่ขึ้น กาบใบมีสีแดงจางๆ ก้านใบยาวเป็นร่องปลายใบแหลม ขอบใบเรียบมีสีม่วงแดง ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
เหง้าหรือหัว หัวหรือเหง้ากระชายดำที่ดีจะมีลักษณะผิวเรียบมันเปลือกบาง สีน้ำตาลคล้ำ มีข้อเป็นวงใหญ่จำนวนมาก ส่วนสีของเนื้อกระชายดำที่มีคุณภาพดีจะมีสีม่วงถึงม่วงเข้มหรือม่วงดำ เนื้อค่อนข้างละเอียด เส้นใยน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว และหัวสดจะยางสีขาวขุ่นด้วย
ราก รากกระชายดำมีลักษณะเป็นเส้นยาวคดเคี้ยว กระชายดำที่ปลูกในพื้นที่อุดมสมบูรณ์เมื่อลงหัวแก่รากจะสร้างปมขึ้นมาเป็นที่สะสม อาหารเพื่อนำไปเลี้ยงหัว ลักษณะปมจะเป็นรูปวงรีสีขาวนวล เนื้อในละเอียดและอวบน้ำ เรียกส่วนนี้ว่า “รากน้ำนม
ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะแทงช่อออกมาระหว่างก้านใบ ดอกมีสีขาวอมชมพู ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบสีขาวอมเขียวหรือแดงอมม่วง โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว ปลายดอกแยกออกจากกันเป็น 3 กลีบ
ผล มีขนาดเล็ก มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของผล ผลเป็นแบบผลแห้ง เมื่อแก่แล้วไม่แตก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
เชื่อกันว่ากระชายดำที่มีคุณภาพจะต้องปลูกบนพื้นที่ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ชอบสภาพแดดร่มรำไร จึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่างแถวของไม้ยืนต้น ต้องการความชื้นในอากาศสูง
การปลูก
การปลูกด้วยเหง้าหรือหัวเป็นวิธีที่นิยมกันมาก เพราะต้นขึ้นง่ายได้ผลเร็ว โดยใช้หัวแก่จัดอายุ 11-12 เดือน มาแบ่งเหง้าหรือหัวลงปลูกปัจจุบันสามารถปลูกกระชายดำได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าปลูกนอกฤดูจะต้องดูแลรักษามากขึ้น
การปลูกในที่ร่มเงาหรือปลูกแซมพืชอื่น ไถพรวนดิน แล้วขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 1 หน้าจอบ ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมและคลุกเคล้าให้เข้ากัน
จากนั้นใช้หัวกระชายดำที่กำลังแตกหน่อ แบ่งข้อออก หรือใช้เพียงข้อเดียวก็เพียงพอ หรือจะใช้ทั้งหัวเลยก็ได้ แต่จะเป็นการสิ้นเปลืองพันธุ์ นำเหง้าพันธุ์ที่แบ่งเป็นชิ้นๆวางลงในหลุม แล้วกลบดินพอมิดและรดน้ำให้ชุ่ม

การปลูกในที่โล่งแจ้ง ไถพรวนดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหากดินยังไม่ละเอียดพอ ให้ทำการไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง แล้วขุดหลุมปลูกเป็นแถว หลุมลึกประมาณ 1 หน้าจอบ ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ จากนั้นใช้หัวหรือเหง้าวางปลูกในหลุมแล้วกลบดินพอมิดและรดน้ำให้ชุ่ม หากปลูกแบบยกร่องระยะการปลูกสามารถปลูกให้ถี่ขึ้นได้
การดูแลรักษา หลังจากปลูกหากฝนไม่ตกให้รดน้ำพอชุ่มแต่ไม่แฉะ อย่าให้น้ำขัง หลังจากกระชายดำเจริญเติบโตจนมีใบ 2-3 ใบขึ้นไป ให้กำจัดวัชพืชพรวนดิน และใส่ปุ๋ยคอกประมาณหลุมละ 1 กำมือ หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นก็ได้ หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน กระชายดำก็จะเริ่มออกดอก จึงกำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพอีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อกระชายดำแก่จัดหรืออายุได้ประมาณ 8-9 เดือน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

สำหรับสิ่งที่ควรระวังเป็นพิเศษในการปลูกกระชายดำ ได้แก่
1.ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกกระชายดำโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้หน่อที่เกิดใหม่ยาวและสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป และที่สำคัญคือ เคมีจะทำให้คุณค่าของตัวยาสมุนไพรลดน้อยลงไป หรืออาจทำให้สารเคมีตกค้างในหัวกระชายดำได้ด้วย
2.ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า เพราะอาจทำให้สารเคมีเหล่านี้เข้าไปสะสมในหัวของกระชายดำได้
3.หลีกเลี่ยงการปลูกกระชายดำใกล้กับพืชสมุนไพรในตระกูลเดียวกัน เพราะอาจเกิดการผสมเกสร ทำให้กลายพันธุ์หรืออาจทำให้สรรพคุณเปลี่ยนไปจากเดิมได้

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากปลูกประมาณ 8-9 เดือน กระชายดำจะเริ่มแก่ ซึ่งตัวยาจะย้ายลงไปสะสมอยู่ที่หัว โดยสังเกตจากใบคู่แรกจะเริ่มเหี่ยวแห้งและตกลงพื้น แต่ทางที่ดีควรจะรอจนใบแห้งทั้งหมดและต้นล้มจึงขุดหัวขึ้นมา
วิธีการเก็บเกี่ยว โดยขุดหัวขึ้นมาแล้วสลัดดินออก จากนั้นนำไปล้างน้ำเอาดินออกให้หมด แล้วจึงตัดรากที่ติดอยู่กับหัวออกแยกไปเก็บไว้ต่างหาก ซึ่งสามารถนำรากไปทำยาหรือขายได้เช่นกัน หลังจากล้างสะอาดดีแล้วให้นำไปใส่ในตะแกรงหรือกระด้ง แล้วผึ่งแดดไว้ประมาณ 2 วัน หรือเมื่อสังเกตว่าแห้งดีแล้ว จากนั้นนำไปผึ่งลมไว้ประมาณ 3 วัน แล้วจึงนำไปบรรจุขายหรือแปรรูป


กระชายดำมีรสฝาดเย็น กลิ่นหอมฉุน มีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ #เป็นยาบำรุงหัวใจ #บำรุงกำลัง เป็นอายุวัฒนะ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี #ขยายหลอดเลือด #แก้ใจสั่นหวิว รักษาแผลสด #แก้โรคในท้อง เช่น ปวดท้อง จุดเสียด ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด แก้ท้องเดิน รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ
แก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากแตก แก้โรคซางในเด็ก #แก้โรคตาเจ็บ ตาแดง #แก้เบาหวาน แก้ไข้ #แก้ปวดเมื่อย ตามร่างกาย แก้ช้ำใน ขับปัสสาวะ ขับลม

ปัจจุบันกระชายดำนอกจากจะใช้ประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้วยังนำไปบดเป็นผง บรรจุซองชงน้ำเย็น ดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิดความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอม และที่นิยมที่สุดคือ ทำไวน์กระชายดำ http://goo.gl/Ub8KGA
 

ที่มา : http://www.thaiherbweb.com/product-type/3299/กระชายดำสกัด.html

Tags : #กระชายดำ,#ล่มปากอ่าว,#โรคอีดี

 

Sitemap 1 2 3