ผู้เขียน หัวข้อ: กู้ไม่ผ่าน เพราะติดเป็น ผู้กู้ร่วม  (อ่าน 204 ครั้ง)

kkthai20009

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2548
    • ดูรายละเอียด
กู้ไม่ผ่าน เพราะติดเป็น ผู้กู้ร่วม
« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2021, 01:41:46 am »
ทำงานกันไปสัก 2-3 ปี หลายคนเริ่มมีความคิดอยากจะซื้อบ้านสักหลัง ยิ่งถ้าครอบครัวไหนยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ลูกๆ ที่มีหน้าที่การงานประจำก็จะเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงในการช่วยซื้อที่อยู่อาศัย เเต่เเรงเดียวอาจจะไม่ไหว เเถมเพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ ด้วย ดังนั้นอาจใช้วิธี “กู้ร่วม” กับพี่น้อง โดยใครมีรายได้หรือโปรไฟล์ดีกว่าก็จะเป็นผู้กู้หลัก
เเต่เรื่องผ่อนบ้านเนี่ยใช่เวลานานหลายสิบปี เกิดป๊ะมีครอบครัวก็ต้องเเยกบ้านไปอยู่ ทีนี้พอจะซื้อบ้านใหม่อีกหลัง..ปัญหาเริ่มเกิดเเล้ว เพราะสถานะปัจจุบันยังเป็นผู้กู้ร่วมอยู่ จะเเยกตัวออกมากู้เอง มันก็ไม่ง่ายแบบนั้นอะดิ!! เจอแบบนี้มันกลับตัวก็ไม่ได้ ให้ไปต่อก็ไปไม่ถึง จะถอนรายชื่อออกไปเพื่อไปกู้เองก็ไม่ได้  เพราะอีกฝ่ายไม่สามารถยื่นสถานะผู้กู้รายเดียวได้ ถ้าทำแบบนี้ก็จะทะเลาะกับพี่น้องเสียเปล่าๆ นี่ยังไม่นับรวมปัญหาการกู้ร่วมระหว่าง(อดีต)แฟน คนเคยรัก สามี-ภรรยา ที่ตอนยามดีก็ร่วมสร้างครอบครัวด้วยกัน ยามร้ายต่างคนต่างต้องการแยกย้าย ในขณะที่อีกฝ่ายยังไม่พร้อมรับภาระคนเดียว ยุ่งยากปวดหัวกันมานักแล้ว
 
กู้ร่วม = เป็นหนี้ร่วมโดยหลักการของธนาคารผู้ปล่อยกู้ การเป็นผู้กู้ร่วม คือ การเป็นหนี้ร่วม ผู้กู้ร่วมจึงมีหน้าที่ต้องช่วยผ่อนชำระหนี้เงินกู้นั้นด้วย แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้วหลายๆคน อาจเป็นผู้กู้ร่วมแต่เพียงในนาม หรือเป็นเพียงใส่ชื่อผู้กู้ร่วมเพื่อเพิ่มรายได้ให้ได้ตามเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อเท่านั้น 
 
กู้ร่วม 1 ล้าน = รับภาระหนี้คนละ 5 แสนจากหลักการกู้ร่วม = เป็นหนี้ร่วม สมมติวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ร่วมกู้ 2 คน เท่ากับแต่ละคนจะมีภาระหนี้คนละ 500,000 บาท 
ดังนั้นหากผู้กู้ร่วมต้องการเป็นผู้กู้หลักในบ้านหลังที่สอง ภาระหนี้เหล่านี้ก็จะติดตัวไปด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการลดทอนความสามารถในการกู้ใหม่ และเป็นสาเหตุทำให้กู้ไม่ผ่านดังเคสที่ยกตัวอย่างข้างต้น และถ้าต้องการแยกตัวมากู้เอง ก็จะต้องทำเรื่องขอถอนชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วม ซึ่งสามารถทำได้ แต่จะสำเร็จหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง
 
ขอถอนชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วม...ไม่ง่าย??ที่บอกว่าไม่ง่าย เนื่องจากธนาคารต้องประเมินว่า หากถอนชื่อผู้กู้ร่วมไปเหลือผู้กู้เพียงคนเดียว รายได้หรือความสามารถในการผ่อนชำระ(ของผู้กู้หลัก)เพียงพอหรือไม่? เบื้องต้นธนาคารจะพิจารณาว่า ผู้กู้ที่เหลืออยู่มีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วยอดผ่อนชำระจะต้องไม่เกิน 40-50% ของรายได้ในแต่ละเดือน
ถ้าเป็นกรณีที่ผ่อนกันมาหลายปีแล้ว เหลือวงเงินกู้เพียงเล็กน้อย การขอถอนชื่อมักไม่มีปัญหา หรือเวลาผ่านไป รายได้ของผู้กู้หลักรายเดียวเพียงพอสำหรับเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารแบบนี้ก็ไม่มีปัญหา แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหา ไม่สามารถถอนชื่อออกได้ก็เพราะเพิ่งจะผ่อนได้ไม่กี่ปี วงเงินกู้ยังเหลืออีกเยอะ  ผู้กู้หลักคนเดียว มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ของธนาคาร  
อย่างไรก็ตาม หากผู้กู้ร่วมยืนยันที่จะถอนชื่อออกไป ในขณะที่ผู้กู้หลักไม่สามารถกู้คนเดียวได้ ทางออกที่เหลือคือ ต้องหาผู้กู้ร่วมคนใหม่มาแทนผู้กู้ร่วมที่ถอนออกไป ซึ่งขั้นตอนก็จะยุ่งยากขึ้นอีกเท่านึง จะเห็นได้ว่าการถอนชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วมไม่ง่ายเลย ดังนั้นแม้ว่าการกู้โดยหลายคนจะทำให้มีโอกาสในการได้การอนุมัติเงินกู้มากขึ้นก็จริง แต่ก็ควรนึกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าไว้ด้วย 
 
ขั้นตอนการถอนชื่อผู้กู้ร่วมเนื่องจากในการกู้ร่วมนั้น ธนาคารมักกำหนดให้ผู้กู้ร่วมมีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันจำนองนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อมีการถอนชื่อออกสิ่งที่ต้องทำคือ 
- ทำเรื่องเปลี่ยนแปลงสัญญากับธนาคาร
- ทำเรื่องเปลี่ยนสัญญากรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน
- มีค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน 
- มีการคิดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วย((หลักการ = ผู้กู้ร่วมขายกรรมสิทธิ์)
 
เข้าใจเรื่องกู้ร่วมกันไปแล้ว ดังนั้นก่อนคิดจะกู้ร่วมกับใครต้องคิดให้ดีๆ เลยว่า เราจะจับมือกับเขาได้ไปตลอดรอดฝั่งหรือเปล่า จะไม่มีใครทิ้งใครไว้กลางทางใช่มั้ย? เเละถึงเเม้ว่าเราจะนำชื่อเขามาโดยที่เขาไม่ต้องจ่ายเงินด้วย เเต่ถ้าเกิดคนที่กู้ร่วมด้วยเกิดต้องมีภาระผ่อนอย่างอื่น ถ้าเกิดไปกู้ เขาเองก็อาจจะไม่ผ่านเรื่องกู้ยืมจากธนาคารก็ได้ เพราะติดภาระทางนี้ ดังนั้นเอาให้ชัวร์เเน่ๆ หรือตัดปัญหาโดยการผ่อนคนเดียวได้จะสบายใจดีกว่านะ
 
สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล >> เลือกชมได้ที่นี่คลิก  คลิกที่นี่

 

Sitemap 1 2 3