ผู้เขียน หัวข้อ: เครดิตบูโร ชื่อคุ้นหู แต่มักไม่รู้จริง  (อ่าน 262 ครั้ง)

Luckyz0nl3

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2590
    • ดูรายละเอียด
เครดิตบูโร คืออะไร มีความสำคัญแค่ไหน เป็นอุปสรรคสำหรับคนขอเงินกู้อย่างที่หลายคนเชื่อจริงหรือไม่ ข้อมูลเครดิตที่ดีเป็นแบบไหน วันนี้บ้านบางกอก จะมาไขทุกข้อข้องใจ เจาะลึกทุกประเด็นเกี่ยวกับเครดิตบูโร ที่จะทำให้คุณรู้จัก และเข้าใจเครดิตบูโรมากขึ้น...
 
เครดิตบูโรคืออะไร และตั้งมาเพื่ออะไร
เครดิตบูโร คือ องค์กรหนึ่งที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อจะรวมข้อมูลคนเป็นหนี้ โดยจะมีองค์กรแบบนี้ เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลคนที่เป็นหนี้ ถ้าจะเปรียบเทียบ มันคือสมุดพกของคนเป็นหนี้ สมุดพกที่แสดงว่า คนๆ นี้มีหนี้ที่ไหนบ้าง แล้วปฏิบัติต่อหนี้แต่ละอย่างไร องค์กรมีอยู่กว่า 190 ประเทศทั่วโลก ที่มีการกู้ยืมกันระหว่างธุรกิจกับแบงก์ หรือธุรกิจกับนอน-แบงก์ หรือนาย ก. นาย ข. เช่าซื้อรถ ก็จะมีเครดิตบูโร


แล้วเครดิตบูโรเกิดขึ้นเมื่อไร
เครดิตบูโรเกิดขึ้นเมื่อเราต้องเบิกเงินจาก IMF (International Monetary Fund : กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) ประมาณรอบที่ 4 เขาบอกว่า ประเทศไทยจะต้องมี ระบบสถาบันการเงินเราต้องเหมือนกับนานาประเทศ​ต้องมีสิ่งนี้ ก็มีการจัดตั้งเครดิตบูโรขึ้นมา 2 บริษัทในอดีต แล้วต่อมาสองบริษัทนี้ก็รวมกิจการให้เหลือบริษัทเดียว แล้วก็มีกฎหมายออกมาเพื่อกำกับดูแล ควบคุมการเก็บข้อมูล
  

ประโยชน์ของเครดิตบูโร

คือ การให้ข้อมูลคนตัดสินใจเอาเงินฝากไปปล่อยกู้ คนส่วนใหญ่จะรู้แค่ว่า เครดิตบูโร เป็นอุปสรรคหรือเป็นตัวขัดขวาง ทำให้เขาไม่ได้กู้สมใจ ลองนึกภาพนะครับ ถ้ามีคนเอาเงินไปฝาก 100 บาท แล้วแบงก์เอาเงินก้อนนี้ไปปล่อยกู้ให้กับอีกคนหนึ่ง ปรากฏว่าเราไม่รู้จักคนกู้มากพอ 100 บาทที่เราเอาไปปล่อยกู้เสียหาย 47 บาท เราเหลือเงินกลับมาให้คนฝาก 53 บาท แล้วส่วนที่ขาดไปที่คนฝากจะต้องได้เต็ม 100 บาท เขาเอาภาษีไปเติม ก็คือหนี้ที่เราเจอ เรียกว่าหนี้กองทุนฟื้นฟู นั่นคือความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเครดิตบูโรมีหน้าที่หนึ่ง คือให้ข้อมูลกับคนปล่อยกู้เพื่อจะปกป้องเงินฝาก นี่คือหลักการพื้นฐาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือของคนปล่อยกู้อย่างเดียว ลึกๆ แล้วมันคือเครื่องมือป้องกันฝั่งเงินฝาก เพราะคนที่เอาเงินมาฝาก เขาต้องการฝาก 100 บาท แล้วอยากได้คืน 100 บาท แล้วคนที่เอาเงินไปฝาก หรือเอาไปปล่อยกู้ต่อก็ต้องดูแลให้เรียบร้อย แบงก์จะไปปล่อยกู้ต่อใคร แบงก์ต้องรู้จักคนนั้นอย่างเพียงพอ


หนี้ประเภทไหนบ้างที่อยู่ในเครดิตบูโร     

หนี้ที่อยู่ในเครดิตบูโร ได้แก่ หนี้บ้าน บัตร รถ สินเชื่อบุคคล กู้ซื้อมอเตอร์ไซค์ สินเชื่อเกษตร นอกจากนั้นยังมีหนี้อีก 2 ตัว ที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณาอยู่ คือ กยศ. และสหกรณ์ออมทรัพย์ ว่าจะเข้ามาเป็นสมาชิกเครดิตบูโรดีหรือไม่ เนื่องจากตัว กยศ. เองก็มีกฎหมายใหม่ ซึ่งให้สิทธิ์นายจ้างหักและนำส่ง ซึ่งจะได้รับการพิจารณากันอีกครั้งถึงประโยชน์ ที่จะเข้ามาในระบบ เพราะจะต้องมีภาระในด้านการส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโร

ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ คือตั้งแต่ทรัพย์สินตั้งแต่ 5 พันล้านบาทขึ้นไป ทางรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน และผลักดันให้รายใหญ่ๆ เข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโร ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ทั้งนี้ก็เป็นระบบสมัครใจ คือแต่ละที่ต้องตัดสินใจว่าจะเข้ามาเป็นสมาชิกไหม แต่ปัจจุบันสหกรณ์ออมทรัพย์ ก็เข้ามาเป็นสมาชิกเครดิตบูโรแล้ว 2 แห่ง คือสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น และสหกรณ์กรมป่าไม้ 
   
 
ข้อมูลเครดิตที่ดีเป็นอย่างไร

เวลาจะไปยื่นกู้ธนาคาร ทางธนาคารจะมีหนังสือให้เซ็นต์แสดงความยินยอม เปิดเผยประวัติเครดิตบูโร ดูในเรื่องของรายได้ อาชีพการงาน ตำแหน่งหน้าที่ เรียกโดยรวมว่า “ดูความสามารถในการชำระหนี้”  และ "ความตั้งใจในการชำระหนี้" ว่าใช้ตรงไหม ติดๆ ขัดๆ หรือเปล่า ตะกุกตะกักไหม ผ่อนงวดติดงวด เลี้ยงงวด หรือว่าไม่จ่ายเลยแล้วก็ปิดบัญชี แล้วมาขอกู้ใหม่ หรือว่าจ่ายครบ จ่ายตรงตลอดแล้วก็ปิดบัญชี 

ธนาคารจะเอาความสามารถในการชำระหนี้ และความตั้งใจในการชำระหนี้มาตัดสินใจว่าจะให้กู้หรือไม่ หากได้รับอนุมัติ แล้วทำการเปิดบัญชี ทันทีที่มีเลขบัญชีสินเชื่อใหม่เกิดขึ้น ธนาคารหรือคนให้กู้เขาจะมีหนังสือมาถึงเครดิตบูโร 1 ฉบับภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันอนุมัติ และจะส่งข้อมูลต่อเนื่องทุกเดือน เพราะฉะนั้นข้อมูลเครดิตบูโรที่ดีนั้น ต้องมีประวัติ “ไม่ค้างชำระ” นั่นเอง


 สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 
>> เลือกชมได้ที่นี่คลิก  คลิกที่นี่

 

Sitemap 1 2 3